ประเด็นท้าทาย
ประเด็นท้าทาย
เรื่อง การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง
การจัดจานอาหาร รหัสวิชา ง30201 วิชาการโรงแรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/7 โดยใช้วิธีการสอนแบบ กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน( GPAS 5 STEPs)
ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ)
ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การปรับประยุกต์
ภาพการปรึกษา ในวงPLC
ประเด็นท้าทาย เกิดจาก...
การจัดการเรียนการสอน ในรายวิชา การโรงแรม เรื่อง การจัดจานอาหาร ในภาคเรียนที่1/2567 แล้วพบปัญหาคือผู้เรียน ไม่สามรถปฏิบัติการจัดจานได้เสร็จตามเวลาที่กำหนด จึงได้นำปัญหาเข้าร่วมปรึกษากับคณะครู ในกลุ่มสาระการงานอาชีพ (วง PLC ชื่อกลุ่ม รักษ์อาชีพ) และได้ข้อสรุปคือ
เนื่องจากการจัดจานอาหารเป็นงานที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนทำให้นักเรียนบาง
ส่วนที่ขาดทักษะและความสนใจไม่สามารถทำงานที่มอบหมาย ซึงอาจเกิดจากการวางแผนในการจัดการเรียนการสอน
จึงได้ข้อแนะนำ ให้ใช้เทคนิคการสอนแบบ กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน
(5 STEPs) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์และทำให้นักเรียนส่งงานได้ตามเวลาที่กำหนด และได้มีขั้นตอนดังนี้
แผนการจัดการเรียนรู้
Step 1 ขั้นสังเกต รวบรวมข้อมูล (Gathering) 5 นาที
ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยการตั้งคำถามเกี่ยวกับความรู้เดิมในชั่วโมงที่แล้วถึงศัพท์เฉพาะที่ใช้ใน
การตกแต่งจานอาหาร (คำตอบที่คาดว่าจะได้รับ : Cutting skill, balance, gradient color, food stylis, lay out , Texture, Sauce to decorate food , edible flowers , Moisture เป็นต้น)
Step 2 ขั้นวิเคราะห์และสรุปความรู้ (Processing) 10 นาที
1.ครูเปิดพาวเวอร์พอยแสดง งานวาด lay out ที่นักเรียนได้ทำส่ง (ในชั่วโมงที่แล้ว) ให้นักเรียนรับชม
2.ครูเปิดยูทูป เรื่องการตกแต่งจานอาหาร ให้นักเรียนรับชม แบบผ่านๆ
3.นักเรียนในกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ความรู้ และเนื้อหาที่ได้ศึกษาร่วมกัน (ในชั่วโมงที่แล้ว)
4.นักเรียนและครูร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น วางแผนการปฏิบัติ ตลอดจนแบ่งหน้าที่ โดยครูคอยชี้แนะแนวทางให้ความรู้เพิ่มเติม กับนักเรียนเพื่อให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ภาพครูเปิดพาวเวอร์พอยแสดง งานวาด lay out ที่นักเรียนได้ทำส่ง (ในชั่วโมงที่แล้ว) ให้นักเรียนรับชม อย่าลืมใส่รูป
ภาพครูเปิดยูทูป เรื่องการตกแต่งจานอาหาร ให้นักเรียนรับชม แบบผ่านๆ
Step 3 ขั้นปฏิบัติและสรุปความรู้หลังการปฏิบัติ (Applying and Constructing the Knowledge) 20 นาที 1.ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม แบ่งกลุ่ม โดยคละ ชาย-หญิงเท่า ๆ กัน (จัดไว้ตั้งแต่ชั่วโมงที่แล้ว)
2.ครูชี้แจงวัสดุและอุปกรณ์ ตลอดจนเกณฑ์การให้คะแนน
3.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันจัดเตรียมอุปกรณ์และวัสถุดิบให้พร้อมก่อนลงมือปฏิบัติและลงมือปฏิบัติงานแต่งจานอาหารให้เเล้วเสร็จ
4.ครูใช้เวลาสั้นๆ ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน (ข้อสอบชุดเดียวกันกับข้อสอบก่อนเรียนที่ทำไปเมื่อชั่วโมงที่แล้ว)
ภาพ ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม แบ่งกลุ่ม โดยคละ ชาย-หญิงเท่า ๆ กัน (จัดไว้ตั้งแต่ชั่วโมงที่แล้ว) และภาพครูชี้แจงวัสดุและอุปกรณ์ ตลอดจนเกณฑ์การให้คะแนน
นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันจัดเตรียมอุปกรณ์และวัสถุดิบให้พร้อมก่อนลงมือปฏิบัติ และลงมือปฏิบัติงานแต่งจานอาหารให้เเล้วเสร็จ
ภาพนักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน และภาพตัวอย่างแบบทดสอบ
Step 4 ขั้นสื่อสารและนำเสนอ (Applying the Communication Skill) 10 นาที
1. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอวิธีการจัดจานอาหารของตนเอง
2. ครูแจ้งนักเรียน ให้ร่วมกันสรุปความรู้ เรื่องการจัดจานอาหาร โดยให้สรุปเป็นคลิป วีดีโอ
ความยาวไม่เกิน 5 นาที ในหัวข้อ การจัดจานอาหารในชีวิตประจำวัน แบบ food stylis
ภาพการนำเสนอผลงานหน้าชั้น
งานนักเรียนที่เป็นคลิปวิดีโอ
Step 5 ขั้นประเมินเพื่อเพิ่มคุณค่าบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Self-Regulating)
5 นาที
1.เผยแพร่เนื้อหา และความรู้ ในรูปแบบคลิปวิดีโอ เรื่องการจัดจานอาหารในชีวิตประจำวันแบบfood stylis
ความยาวไม่เกิน 5 นาที ในFacebook
2.นัดส่งสัปดาห์หน้า
3.จัดเวรให้ช่วยงานจัดเบรค รับแขกให้กับโรงเรียน เพื่อ ได้ลงสนามฝึกปฏิบัติการจริง และบริการสังคม
ภาพ เฟสบุคที่นักเรียนเผยแพร่
ภาพงานการมีจิตสาธารณะบริการสังคม